อัตราดอกเบี้ยบ้าน หรือสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน คือ ตัวกำหนดการผ่อนชำระค่างวดของการซื้อบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ และคอนโด
สำหรับคนที่ทำการกู้ซื้อบ้านผ่านธนาคาร ดังนั้นใครที่ยังเลือกไม่ได้ว่าจะกู้ซื้อบ้านกับธนาคารไหนดีก็หายห่วงได้
DDproperty ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยบ้าน
อัปเดตประจำเดือน มิถุนายน ปี 2564 จากหลากหลายธนาคาร เช่น ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา มาเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลย
ธนาคารไหนให้สินเชื่อบ้านโดยคิดดอกเบี้ยบ้านต่ำสุด มีเงื่อนไขอะไรบ้าง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการพิจารณาเลือกสินเชื่อ สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน หรือคอนโด ได้ง่ายขึ้น พร้อมตัวช่วยในการ
คำนวณผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน
เดือน มิถุนายน 2564 ธนาคารส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้านเฉลี่ย 3 ปีแรกคงที่จาก
เดือน พฤษภาคม ปี 2564 มีเพียงสถาบันทางการเงินบางแห่งที่มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของผลิตภัณฑ์สินเชื่อกู้ซื้อบ้าน ซึ่งทาง DDproperty ก็ได้นำอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกที่ต่ำที่สุดมาจัดอันดับ โดยมีอัตราดอกเบี้ยบ้านของธนาคารที่น่าสนใจ ดังนี้
ตารางอัตราดอกเบี้ยบ้าน – คอนโด ของธนาคารพาณิชย์ เดือน มิถุนายน 2564
ธนาคาร
ดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปีแรก
วงเงินกู้สูงสุด
1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์
2.37%
วงเงินให้กู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2,000,000 บาท (สินเชื่อที่อยู่อาศัย Two-Gen เฉพาะการกู้ใหม่ เงื่อนไขขึ้นอยู่กับธนาคารกำหนด)
2.ธนาคารกรุงศรีฯ
2.55%
100% ของราคาประเมิน สำหรับคอนโด ราคา 1 ล้านบาทขึ้นไป และบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโด ราคา 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ และลูกค้ากรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ และคู่เพื่อนที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน
3.ธนาคารกรุงเทพ
2.67%
70-100% ของราคาประเมิน (สินเชื่อเพื่อกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ แพทย์ ผู้พิพากษา อัยการ นักบิน และพนักงานประจำที่มีรายได้สูง 200,000 บาทขึ้นไป)
4.ธนาคารทหารไทย
2.70%
100% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินธนาคารฯ แล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า กรณีซื้อจาก บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด (Selective Developers)
5.ธนาคารกรุงไทย
2.73%
วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน สินเชื่อบ้านกรุงไทยสำหรับบ้านใหม่ (กรณีผู้กู้ประสงค์ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ)
6.ธนาคารกสิกรไทย
5.40%
วงเงินให้กู้ได้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 90% ของราคาประเมินหลักประกัน (สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ประจำ)
7.ธนาคารไทยพาณิชย์
5.95%
สูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักประกัน (กรณีทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อมากกว่า 70% ของวงเงินกู้)
8.ธนาคารออมสิน
อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินหลักทรัพย์แล้วแต่ราคาใดที่ต่ำกว่า
*** อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เฉลี่ย 3 ปีแรก คำนวณแบบค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์เท่านั้น***
ที่มาอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปี แรก* สามารถดาวน์โหลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละธนาคาร และชมรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น อัตราดอกเบี้ยรายปี วงเงินกู้ และข้อมูลอื่นๆ ได้ที่นี่
: ดาวน์โหลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ฉบับเต็มประจำเดือนนี้
8 อันดับธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเฉลี่ยต่ำที่สุดในเดือนนี้
1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank) มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ คือ
สินเชื่อที่อยู่อาศัย Two-Gen ซึ่งเปิดให้ทำทำนิติกรรมตั้งแต่วันที่
1 ธันวาคม 2563 ถึง วันที่ 30 ธันวาคม 2564 โดยมีเงื่อนไข
เฉพาะกรณีกู้ใหม่ และ
ทางธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว และมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีแรกอยู่ที่
2.37% เท่านั้น
นอกจากนั้น
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank) ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ อีกมากมาย ที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีค่อนข้างต่ำ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่ร่วมกับนโยบายรัฐ โครงการบ้านจัดสรรที่ธนาคารกำหนด ตลอดจน โครงการสำหรับผู้สูงอายุ และสินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะมีระยะเวลาหมดเขตในการขอสินเชื่อตามที่ธนาคารกำหนด โดยสามารถดูอัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้ที่
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)
2.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีแรกของ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อยู่ที่
2.55% สำหรับคอนโด ที่มีราคาตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป และ
บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโด ที่มีราคาตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ (แพทย์, สัตวแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, ผู้พิพากษา และนักบินพาณิชย์) และ
ลูกค้ากรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ (สำหรับผู้มีเงินฝากและ/หรือเงินลงทุนกับธนาคาร 5 ล้านบาทขึ้นไป)
นอกจากนั้น
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านสำหรับ “คู่เพื่อน” ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน โดยมีความแตกต่างการจากกู้ร่วมแบบเดิม คือ ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้กู้ แต่จะพิจารณาจากรายได้ ศักยภาพในการชำระคืน และเครดิตของผู้กู้ทั้ง 2 ท่าน รวมถึงการตรวจสอบเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ และต้องเป็นการขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยใหม่จากโครงการในกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์พันธมิตรซึ่งธนาคารให้การสนับสนุนโดยราคาซื้อขาย (หลังหักส่วนลดทั้งหมดแล้ว)
ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป
โดยผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่กล่าวมาทั้งหมดมี
วงเงินกู้สูงสุดอยู่ที่ 100% ของราคาประเมินและราคาซื้อขาย รวมไปถึงสิทธิพิเศษจากธนาคาร คือ
ดอกเบี้ยคงที่ 0.75% ต่อปี นาน 1 ปี ฟรีค่าประเมินหลักประกัน และฟรีค่าจดจำนองเมื่อซื้อ MRTA / MLTA ตามเงื่อนไขที่กำหนด
3.ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เป็นสถาบันทางการเงินที่มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อกู้บ้าน คอนโด และทางเลือกของอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลายมากที่สุด โดยให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 70-100% ของมูลค่าหลักประกัน และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่
2.67% ซึ่งมีให้เลือกด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ
แบบที่ 1 ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรกที่
1.75% และ
2.50% โดยปีที่ 3 ใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
MRR-2%
แบบที่ 2 ใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวทั้ง 3 ปี โดยปีแรกมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ที่
MRR-4.25% และปีที่ 2-3 มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ที่
MRR-2.50%
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 รูปแบบมีเงื่อนไขในการขอสินเชื่อบ้าน คือ ผู้กู้สินเชื่อต้องเป็นกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ คือ
แพทย์ ผู้พิพากษา อัยการ และนักบิน หรือ
พนักงานประจำที่มีเงินเดือนมากกว่า 200,000 บาท และ
ต้องทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ
4.ธนาคารทหารไทย (TMB)
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่
2.70% แต่มีเงื่อนไขว่า
โครงการที่กู้ซื้อนั้นต้องเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ที่ธนาคารกำหนด (Top Selective Developers) และต้องสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ ธนาคารทหารไทย (TMB) กำหนดประกอบไปด้วย
โครงการบ้านและคอนโดจากแสนสิริ, โครงการบ้านและคอนโดจากอนันดาฯ และโครงการบ้านและคอนโดจากเอพี (ไทยแลนด์) เป็นต้น
(ทั้งนี้สามารถดูรายชื่อบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดทั้งหมดของธนาคารทหารไทยได้ที่นี่)
รีวิวโครงการจากบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ชื่อดังบางส่วนตามที่ธนาคารกำหนด
5.ธนาคารกรุงไทย (KTB)
สำหรับ
กรณีการขอสินเชื่อบ้านใหม่ แบบไม่ได้ทำประกัน ของ
ธนาคารกรุงไทย มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่
2.83%
ส่วน
กรณีขอสินเชื่อบ้านใหม่ แบบทำประกัน มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่
2.73% โดยจะมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรกอยู่ที่ 0.64% ปีที่ 2 และปีที่ 3 MRR-2.45% โดยอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินให้
MRR ปัจจุบันที่ 6.22%
ทั้งนี้เอง ธนาคารกรุงไทย ยังมีอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่าง
สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับบุคลากรภาครัฐ โดยทางธนาคารใช้
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (MLR) เป็นตัวกำหนดดอกเบี้ย โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่
3.83%
6.ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)
สำหรับ
ธนาคารกสิกรไทย แบ่งผลิตภัณฑ์การขอสินเชื่อบ้าน 2 รูปแบบ คือ
สำหรับพนักงานที่มีรายได้ประจำ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่
5.40% ส่วนสินเชื่อบ้านสำหรับ
ผู้ประกอบการ มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่
5.90% โดย
ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ และดอกเบี้ยดังกล่าวอยู่ในเงื่อนไขของการทำประกัน
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อทั้งหมด สำหรับพนักงานบริษัท และผู้ประกอบการ มีวงเงินกู้สูงสุดได้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 90% ของราคาประเมินหลักประกัน
7.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
ทั้งนี้เอง
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ก็มีอัตราดอกเบี้ยทางเลือกสำหรับทั่วไปที่น่าสนใจ โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 100% จากราคาประเมินหลักประกัน
กรณีลูกค้าโครงการ / ลูกค้าองค์กร จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ขึ้นอยู่กับประเภทโครงการ หรือประเภทองค์กร
โดยผลิตภัณฑ์อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้ซื้อบ้านใหม่ของ
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
แบบที่ 1 (ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อมากกว่า 70% ของวงเงินกู้) มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอด 3 ปีแรกอยู่ที่
5.95% และ
แบบที่ 2 (ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ) มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอด 3 ปีแรกอยู่ที่
5.995%
8.ธนาคารออมสิน (GSB)
ในปี 2564
ธนาคารออมสิน (GSB) นอกจากสินเชื่อที่ร่วมกับมาตรการรัฐแล้ว ทางธนาคารยังมีผลิตภัณ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ ที่หลากหลายขึ้น อาทิ
สินเชื่อเคหะสำหรับบุคคลทั่วไป สินเชื่อเคหะสำหรับกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ เป็นตัวเลือกสำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย
โดย
อัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด และให้วงเงินสูงสุดไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินหลักทรัพย์แล้วแต่ราคาใดที่ต่ำกว่า
*อัตราสินเชื่อบ้านโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไม่บ่อยมากนัก ประมาณ 1 ไตรมาสหรือครึ่งปีต่อครั้ง ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่างธนาคารแต่ละที่ด้วย
กรณีตัวอย่าง : ใช้อัตราส่วนการผ่อนชำระเบื้องต้นที่ 1,000,000 : 7,000 หากกู้ซื้อบ้านในราคาประเมิน 2,000,000 บาท สามารคิดเป็นยอดชำระเริ่มต้นต่อเดือนจากวงเงินกู้ได้ที่ประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน ***คำนวณเบื้องต้นจากสมมุติ*** โดยใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.89% ตลอดปีที่ 1-3 กู้ซื้อบ้านกับธนาคารแห่งหนึ่งที่มีดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้ง 3 ปีอยู่ที่ 2.89% โดยแบ่งชำระเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นยอดชำระทั้งหมด 504,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 347,196.69 บาท และคิดเป็นดอกเบี้ย 156,803.34 บาท
การคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยตามกรณีตัวอย่างด้านบนเป็นการคำนวณเบื้องต้น 3 ปีแรกเท่านั้น หากต้องการคำนวณการผ่อนสินเชื่อบ้านตลอดระยะเวลาการกู้
สามารถดาวน์โหลดตารางคำนวณผ่อนสินเชื่อบ้าน โดยอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยและการผ่อนชำระจริงต่อเดือนได้ที่นี่
***ทั้งนี้การคำนวณดังกล่าวเป็นการคาดคะเน อัตราจริงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร***
นอกจากอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารที่เราได้รวบรวมมาให้แล้ว เรายังมีเทคนิคเบื้องต้นในการเลือกสินเชื่อบ้านให้ได้ดอกเบี้ยต่ำและวงเงินกู้สูงมาแนะนำอีกด้วย
1. บ้านโครงการใหม่ หากคุณกำลังจะซื้อบ้านโครงการใหม่ หรือบ้านมือหนึ่ง ซึ่งเป็นการซื้อจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ปัจจุบันหลายบริษัทฯ มีการทำความร่วมมือกับธนาคารเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษแก่ลูกค้าของบริษัท ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามสินเชื่อบ้านที่ทางโครงการจัดให้ หรือสามารถสอบถามจากทางธนาคารโดยตรงก็ได้ครับว่าโครงการที่สนใจจะซื้อนั้นเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุนอยู่หรือไม่
2. การซื้อทรัพย์สินธนาคาร NPA ธนาคารที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน NPA นั้น มักจะมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้ให้ลูกค้าที่ซื้อทรัพย์สินธนาคาร สามารถสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเจ้าของทรัพย์ได้
3. หน่วยงานที่ทำงาน บางธนาคารนั้นมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานนั้นโดยเฉพาะในลักษณะสวัสดิการต่าง ๆ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงควรสอบถามแก่ทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่ามีสวัสดิการเกี่ยวกับการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้กับธนาคารใดหรือไม่ หรือสอบถามเพิ่มเติมกับธนาคารต่าง ๆ ก็ได้ นอกจากนี้บางธนาคารมีการจัดกลุ่มอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในบางธุรกิจ หรือขนาดบริษัท ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของแต่ละธนาคาร
4. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพพิเศษ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักบินพาณิชย์ ผู้พิพากษา และอัยการ ธนาคารบางแห่งมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้านี้โดยเฉพาะ สามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคาร
5. กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารของภาครัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร ควรสอบถามหน่วยงานต้นสังกัด หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเหล่านี้ก่อน เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
6. ทำประกัน MRTA การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อหรือ MRTA พร้อมกับการขอสินเชื่อบ้านนั้น ธนาคารมักจะมีส่วนลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อย แต่จะมีเงื่อนไขว่าต้องทำประกันคุ้มครองเป็นสัดส่วนเท่าใดของวงเงินกู้ หรือระยะเวลานานเท่าใด จึงจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารจะสามารถให้รายละเอียดได้
ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมมาจากเว็บไซต์ของธนาคาร และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของธนาคารเท่านั้น หากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของธนาคารผู้ออกสินเชื่อนั้น หรือสอบถามโดยตรงจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารได้ทุกสาขาซึ่งยินดีให้ข้อมูล
แนะนำ 5 ขั้นตอนวิธีกู้เงินซื้อบ้าน คอนโด
อัปเดตอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ประจำเดือน :
Cr. https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/อัปเดตอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน-กู้ซื้อบ้าน-6214?fbclid=IwAR22VYGo5WZVHRQ5xl7XPznphTyOgvViOTr7GLPQaNb4P_uhsaLcoy3yGzo